After the Flood:
Building on Higher Ground

นิทรรศการนำเสนอแนวทางในการสร้างบ้านเรือนใหม่และ
ฟื้นฟูเมืองนิวออร์ลีนส์
มลรัฐหลุยเซียน่า หลังจากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนคัทรินา
นำเสนอโดยสำนักงานกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยร่วมมือ
กับสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ศูนย์ศึกษาต่อเนื่องในเมือง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
20 มิถุนายน – 19 สิงหาคม 2550


Click here for English version


นิทรรศการ
After the FLOOD: Building on HIGHER GROUND เป็นนิทรรศการที่นำเสนอแนวทางด้านสถาปัตยกรรม
หลังมหันตภัยจากพายุเฮอริเคนคัทรินาที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ และชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกในเดือนสิงหาคม
ปี พ.ศ. 2548
นิทรรศการนี้เน้นข้อเสนอแนะในการออกแบบที่พักอาศัยสำหรับครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยว
ซึ่งเป็นผลงานจากการแข่งขันระดับนานาชาติที่จัดขึ้นโดยนิตยสาร Architectural Record และ
School of Architecture ของมหาวิทยาลัย Tulane โดยผู้ชนะจากการแข่งขันครั้งนี้มีทั้งสถาปนิกอาชีพและ
นักศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
นอกจากนี้ นิทรรศการยังนำเสนอนิทรรศการ “What Next” ซึ่งเป็นมุมพิเศษที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย
Tulane เพื่อแสดงให้เห็นการวางแผนและการออกแบบผังเมืองสำหรับเมืองนิวออร์ลีนส์ ซึ่งรวมไปถึง
Morphosis’s Jazz Center และ Heritage Park นอกจากนี้ยังได้แสดงงานการออกแบบบ้านแบบยั่งยืน
สำหรับเมืองนิวออร์ลีนส์ ซึ่งได้มาจากช่วงแรกเริ่มของการแข่งขันที่สนับสนุนโดยองค์กร Global
Green U.S.A.
องค์ประกอบในนิทรรศการครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและที่
มนุษย์สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น คลิปจากซีรี่ส์ทางโทรทัศน์เรื่อง Design:e2 ที่กล่าวถึงความยั่งยืนคงทน
ภาพถ่ายโดย Michael Goodman และภาพยนตร์โดย Neil Alexander
Robert Ivy, Suzanne Step hens, Clifford A. Pearson — Architectural Record
Christian Bruun, Curator
Reed Kroloff, Dean, Tulane School of Architecture



5+5 Architectural Record/Tulane Housing Competition

ผู้ชนะจากการแข่งขันออกแบบบ้านเรือนในเมืองนิวออร์ลีนส์ ทั้งแบบสำหรับครอบครัวขยายและ
ครอบครัวเดี่ยว
เครื่องหมายสำหรับรางวัล
Q รางวัลเกียรติยศ
© รางวัลกิตติคุณ
บ้านสำหรับครอบครัวขยาย:
1. An der son An der son Archi tec tu re จากเมืองซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
หัวหน้าทีม: Mark Anderson และ Peter Anderson
ทีมงาน: Kylie Moss, Aaron Brumo, Alan Owings, Brent Sumida, Dennis Oshiro, Ji young Chung, และ Rita Sio
โครงสร้างแบบตารางสี่เหลี่ยมและการผสมผสานระหว่างเหล็กและกระจกได้อิทธิพลจากแบบบ้านตามประเพณีนิยม
ของเมืองนิวออร์ลีนส์ ที่เรียกว่า Camel-back (หลังอูฐ) และ Shot-gun (แบบห้องอาคารพาณิชย์ในประเทศไทย)
การเลือกใช้ตารางสี่เหลี่ยมในแนวทางหลากหลายนั้นทำให้แต่ละยูนิตได้รับแสงสว่างและมีการระบายอากาศจากสี่ทิศ
ระบบหน้าต่างที่เป็นบานเกล็ดหุ้มฉนวนจะช่วยในการกรองน้ำฝนและเอื้อต่อการปลูกพืช (รางวัลเกียรติยศ)
2. Eight Inc. จากเมืองซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
หัวหน้าทีม: Tim Kobe
ทีมงาน: Doo Ho Lee, Ryoji Karube, Jeff Straesser, Jie Siang Yong, David Herman และ BJ Siegel
อาคารขนาด 12 ชั้นรองรับได้ถึง 160 ยูนิตเป็นอาคารเรียงเป็นชั้นที่หันหน้าเข้าถนนที่โดดเด่นและหลากหลาย การจัด
เรียงแบบไม่เท่ากันนั้นทำให้แต่ละยูนิตได้รับวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำและเมืองที่ต่างกัน (รางวัลเกียรติยศ)
3. Justin Las kin + Kat hleen Mark จากมหาวิทยาลัย Virginia เมืองชาร์ลอตส์วิลล์ มลรัฐเวอร์จิเนีย
อาจารย์ผู้ควบคุม: Maurice Cox
ตึกสำหรับผู้พักอาศัยไม่สูงมากนักและมีร้านค้าที่หัวมุมในช่วงระหว่างถนน และมีตึกสำหรับผู้พักอาศัยอีกสี่ตึกที่สูงขึ้นมา
ในระดับกลางซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำ โดยจัดให้มีพื้นที่สาธารณะในชั้นล่างของตึกที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ การมีระบบหลังคาแบบ
กระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดร่มเงาและการกรุบานเกล็ดทำให้ป้องกันแสงแดด (รางวัลกิตติคุณ)
4. Duong Bui, Er kin Özay, Pars Ki ba rer จากเมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสสาชูเซส และเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี
การวางแบบทาวน์เฮาส์หลายระดับชั้นและตึกแปดชั้นจำนวนสามตึกล้อมรอบสวนอันสวยงาม น้ำในแม่น้ำจะนำมาใช้
ในระบบระบายอากาศร่วมกับแผ่นรองในท่อที่ถูกฝังอยู่ในหลังคา (รางวัลกิตติคุณ)
5. Workshop/apd จากเมืองนิวยอร์ก มลรัฐนิวยอร์ก
ทีมงาน: Andrew Kotchen, Matthew Berman ร่วมกับ Stephan Thimme, Andrew Hart, Zachary Helmers, Matthew Miller และ
Steven Thrasher
ยูนิตที่พักอาศัยถูกจัดวางอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมโดยรอบ “ปล่อง” (Chimneys) ที่ช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติและทำให้
เห็นทิวทัศน์แม่น้ำจากห้องด้านใน บานเกล็ดและช่องระบายอากาศก่อให้เกิดร่มเงาและอากาศถ่ายเท ในขณะที่ระบบ
ถ่ายเทความร้อนจ่าย “น้ำที่ใช้แล้ว” (Grey Water) สำหรับการชลประทาน (รางวัลกิตติคุณ)


บ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยว:
6. Michelle Jellison จากมหาวิทยาลัย Montana State เมืองโบซแมน มลรัฐมอนแทนา
ผู้ควบคุม: John Brittingham
เป็นการนำเอาบ้านดั้งเดิมแบบ shot-gun มาออกแบบใหม่ การออกแบบโดยใช้กระจกและไม้ที่ทำให้ต่อเติมได้ง่ายในอนาคต
ความสูงของพื้นสามารถปรับได้ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของการเกิดอุทกภัย บานเกล็ดทำให้เกิดร่มเงาหลายระดับ
การระบายอากาศและความเป็นส่วนตัว (รางวัลเกียรติยศ)
7. Amin Gilani + Josh Spoer จากมหาวิทยาลัย Texas เมืองอาร์ลิงตัน มลรัฐเท็กซัส
ผู้ควบคุม: Heath McDonald และ Bijan Youssefzadeh
กรอบโลหะทรงสี่เหลี่ยมช่วยเป็นโครงสร้างให้การจัดวางชั้น/พื้นลึกเข้าไปในกรอบ การออกแบบนี้ช่วยให้เกิดร่มเงา
ทางด้านหน้าของบ้าน ในขณะที่หลังบ้านเป็นพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น (รางวัลเกียรติยศ)
8. Zui Lig Ng จากมหาวิทยาลัย Houston เมืองฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส
ผู้ควบคุม: Rafael Longoria และ Fernando Brave
โครงสร้างที่มีการกรุหน้าต่างประตูด้วยฉนวนป้องกันทำให้ชั้นบนนั้นมีหลังคารับแสงที่มีความยืดหยุ่นสูงและ
ปรับเปลี่ยนได้ ในขณะที่ชั้นล่างถูกวางในรูปแบบบล็อกคอนกรีตสำหรับป้องกันน้ำท่วม (รางวัลเกียรติยศ)
9. Mark D. Stankey + John A. Kucharski จากมหาวิทยาลัย Montana State เมืองโบซแมน มลรัฐมอนแทนา
ผู้ควบคุม: John Brittingham
เป็นยูนิตที่มีรูปแบบการทรงตัวแบบตัวแอลตั้งอยู่เหนือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมโดยใช้เหล็กเป็นตัวค้ำ โดยมี
กรอบแกนกลางที่บรรจุด้วยระบบจักรกล (รางวัลเกียรติยศ)
10. Kiduck Kim + Christian Stayner จากมหาวิทยาลัย Harvard เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์
การออกแบบนี้แสดงให้เห็นถึงบ้านพักอาศัยสองชั้นที่เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน มันสามารถลอยอยู่เหนือน้ำ
ท่ามกลางอุทกภัย โดยถูกล่ามติดดินไว้ด้วยเชือกเหมือนกับสายสะดือ ที่พักอาศัยแบบนี้จะเลื่อนระดับตนเองเมื่อระดับน้ำ
ท่วมลดลง (รางวัลเกียรติยศ)

“What Next” (สิ่งที่จะเกิดต่อไป)
“What Next” จัดโดย School of Architecture ของมหาวิทยาลัย Tulane และคณบดี Reed Kroloff
ซึ่งนำเสนอหลายแนวคิดริเริ่มในการสร้างเมืองนิวออร์ลีนส์ขึ้นมาใหม่ รูปภาพจาก Jazz Center
และ Heritage Park ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักของรูปแบบตัวเมืองชั้นในที่ออกแบบโดย Morphosis
จะจัดแสดงเพิ่มเติมจากข้อเสนอในการสร้างบ้านใหม่โดยนักวิชาชีพชื่อดังหลายคน นอกจากนี้
ยังได้รวมผลงาน 6 ชิ้นสุดท้ายในรอบแรกของการแข่งขันที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Global
Green USA และ Brad Pitt ซึ่งเสนอแนะแนวทางการสร้างบ้านที่ยั่งยืนให้แก่เมืองนิวออร์ลีนส์ และ
ยังได้มีการแสดงข้อมูลจากหนังสือ New Orleans: Strategies for a City in Soft Land อีกด้วย
โดยหนังสือเล่มนี้เป็นความร่วมมือของ Joan Busquets และ Felipe Correa ที่ได้ร่วมมือกันเขียนโดย
Graduate School of Design ของมหาวิทยาลัย Harvard และ School of Architecture
ของมหาวิทยาลัย Tulane

  สารคดี
“Design:e2” (The Economies of Being Environmentally Conscious) เป็นคลิปจากซีรี่ส์ทางโทรทัศน์
ในเรื่องความสามารถในการรักษาไว้ซึ่งความยั่งยืนคงทน ซึ่งกำกับโดย Kontentreal จะถูกแสดงเป็น
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ AFTER THE FLOOD ครั้งนี้ ซีรี่ส์ 6 ตอนนี้เล่าเรื่องโดย Brad Pitt นำเสนอผู้นำ
ในการประดิษฐ์และเทคโนโลยีใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงโลกรอบๆตัวเราอย่างยั่งยืน จากผลิตภัณฑ์ที่เรา
ใช้ในสังคมที่เราอาศัยอยู่ ซีรี่ส์เหล่านี้จะถูกนำออกฉายในทวีปยุโรปในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 2006
“The Alluvial Sponge Comb” เป็นรวงผึ้งที่ทำจากฟองน้ำซึ่งมีลักษณะเป็นดินทรายน้ำพัดพาที่ออกแบบ
โดย Anderson Anderson Architecture และติดตั้งในลานกว้าง ก่อให้เกิดวิธีในการป้องกันอุทกภัย
โดยสร้างจากวัสดุที่ยืดหยุ่นที่จะกลายเป็นเครื่องกั้นน้ำท่วมแบบชั่วคราวที่สามารถดูดซึมน้ำได้ดีเนื่องจาก
มีลักษณะเป็นฟองน้ำยื่นออกมาคล้ายนิ้วมือ การออกแบบนี้มีวัตถุประสงค์ในการประสานการลดลง
และการไหลของกระแสน้ำตามธรรมชาติมากกว่าที่จะต่อต้านมัน

ภาพถ่าย
Michael Goodman: ทั้งจากบนเฮลิคอปเตอร์และบนพื้นดิน ช่างภาพ Michael Goodman ได้บันทึก
ขนาดและขอบเขตของผลกระทบจากพายุเฮอริเคนในเมืองนิวออร์ลีนส์ ผลงานของเขานำเสนอแง่มุม
ที่หลากหลายในการเผชิญหน้าระหว่างสภาวะแวดล้อมที่สร้างโดยมนุษย์กับสภาวะแวดล้อม
ตามธรรมชาติ
Neil Alexander: ช่างภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์และผู้สร้างภาพยนตร์สารคดี Alexander ยังคง
อาศัยอยู่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ในช่วงที่เกิดพายุเฮอริเคนคัทรินา บางส่วนจากวิดีโอของเขาที่มีชื่อว่า
“An Eye in the Storm” แสดงสิ่งที่มนุษย์เผชิญหน้าในช่วงวันมหันตภัยนั้น

ผู้ให้การสนับสนุนพิเศษ:
ออกแบบนิทรรศการโดย Christian D. Brunn
ออกแบบกราฟฟิกโดย Anna Egger-Schlesinger
อำนวยการการออกแบบโดย Architectural Record
ออกแบบแผ่นพับโดย Paula Kelly Design, NYC
ขอขอบคุณพิเศษ Architectural Design

 


  Symposium
  Sustainable Dialogues
Thailand Creative and Design Center (TCDC) Auditorium
6th FloorThe Emporium Complex, Sukhumvit Road, Bangkok

Thursday, June 21, 2007 + Friday, June 22, 2007  
All events are free and open to the public. For further information, contact Bangkok CODE at tel. (02) 673 9434-35 or
www.bangkokcode.com

  Organized by the Bureau of Educational and Cultural Affairs
of the U.S. Department of State and Michael Paripot Tangtrongchit, Dean of the School of Architecture and Design of King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT), with Anthony Fontenot.

  Following the catastrophic impact of the Tsunami in Southeast Asia and Hurricane Katrina in New Orleans and the Gulf Coast, an incredible outpouring of international response from architects and environmentalist has resulted in a wide-range of alternative sustainable deign strategies. This event will bring together innovative Southeast Asian and American architects and experts on sustainability, design, and planning to discuss their current work and its relevance for the planning processes currently underway in New Orleans and similar low-lying flood plain areas.

    FOR FULL SYMPOSIUM PROGRAM CLICK HERE>>
       
     
       
       
     
     
     
     
     
     

vv